วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เฉลยแบบฝึกหัด


    คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้
         
                1.ใครเป็นผู้แต่งบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี
                        ...เจ้าพระยาพระคลัง(หน)......
                2.การแต่งบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีมีลักษณะอย่างไร
                ....ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน .....
                3.ตัวละครในบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีมีตัวอะไรบ้าง
                ...พระเวสสันดร...พระนางมัทรี..พระชาลี..พระกัณหา..ท้าวสักกเทวราช..พระนางผุสดี
                ..พระเจ้ากรุงสญชัย..ชูชก......
                4.ใครเป็นผู้แต่งบทลิลิตตะเลงพ่าย
                .....สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.....
                5.การแต่งบทลิลิตตะเลงพ่ายมีลักษณะอย่างไร
                 ..... แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์....
                6.ตัวละครในบทลิลิตตะเลงพ่ายมีตัวอะไรบ้าง
                ..สมเด็จพระนเรศวรมหาราช..สมเด็จพระเอกาทศรถ..พระมหาธรรมราชา..
สมเด็จพระวันรัต..พระยาศรีไสยณรงค์...พระราชฤทธานนท์. เจ้าพระยาคลัง.. เจ้ารามราฆพ ...
...ขุนศรีคชคง..หมื่นภักดีศวร..หมื่นทิพย์เสนา.. หมื่นราชามาตย์ ...พระเจ้าหงสาวดี.. พระมหาอุปราชา
...พระยาจิดตอง.. มางจาชโร..เจ้าเมืองมล่วน......
                7.ใครเป็นผู้แต่งบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา      
                ....พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.......
                9.การแต่งบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธามีลักษณะอย่างไร
                 .....ลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์.......
                10.ตัวละครในบทลิลิตตะเลงพ่ายมีตัวอะไรบ้าง
                ...พระกาละทรรศิน...โสมะทัต....นาคศุน..ท้าวชัยเสน...พระนางจัณฑี..
..วิทูร...ศุภางค์..นันทิวรรธนะ..ปริยัมวทา..อราลี..เกศินี..สุเทษณะเทพบุตร์...จิตระเสน.....
..จิตระรถ..มายาวิน..นางมัทนา............................................................
                11.ใครเป็นผู้แต่งบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตรสงเคราะห์
                ...พระยาพิศณุประสาทเวช (คง  ถาวรเวช)......
                12.การแต่งบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีลักษณะอย่างไร
                 .....ตอนคำนำหรือตอนเปิดเรื่องใช้พากย์ยานี  ๑๑  และตอนลำดับทับ  ๘  ประการใช้คำประพันธ์ชนิดร่าย.......                                      
                13.ใครเป็นผู้แต่งบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน
                ....พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว....
                14.การแต่งบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียนมีลักษณะอย่างไร
                ....เป็นบทความร้อยแก้ว แสดงคามคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมของคนไทยที่นิยมอาชีพเป็นเสมียน....            

แบบฝึกหัด

   แบบฝึกหัด

    คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้
         
                1.ใครเป็นผู้แต่งบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี
                ...........................................................................................................................
                2.การแต่งบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีมีลักษณะอย่างไร
                ...........................................................................................................................
                3.ตัวละครในบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีมีตัวอะไรบ้าง
                ...........................................................................................................................
                4.ใครเป็นผู้แต่งบทลิลิตตะเลงพ่าย
                ...........................................................................................................................
                5.การแต่งบทลิลิตตะเลงพ่ายมีลักษณะอย่างไร
                 ...........................................................................................................................
                6.ตัวละครในบทลิลิตตะเลงพ่ายมีตัวอะไรบ้าง
                ...........................................................................................................................
                7.ใครเป็นผู้แต่งบทลิลิตตะเลงพ่าย
                ...........................................................................................................................
                8.ใครเป็นผู้แต่งบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา        
                ...........................................................................................................................
                9.การแต่งบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธามีลักษณะอย่างไร
                 ...........................................................................................................................
                10.ตัวละครในบทลิลิตตะเลงพ่ายมีตัวอะไรบ้าง
                ...........................................................................................................................
                11.ใครเป็นผู้แต่งบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตรสงเคราะห์
                ...........................................................................................................................
                12.การแต่งบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีลักษณะอย่างไร
                 ...........................................................................................................................                                       13.ใครเป็นผู้แต่งบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน
                ...........................................................................................................................
                14.การแต่งบทโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียนมีลักษณะอย่างไร
                 ...........................................................................................................................
             

วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน่วยการเรียนรู้ที่5โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

ที่มา:
   
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง โคลนติดล้อซึ่ง มีทั้งหมด 12 ตอน ลงพิมพ์ในหนังสือไทย พ.ศ. 2458 ตอนความนิยมเป็นเสมียนเป็นตอนที่ 4 ลงพิมพ์ในหนังสือสยาม(สยามออบเซอร์เวอร์) ฉบับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2458
เรื่องย่อ:
      เสมียนเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ ผู้ที่มีการศึกษานั้นนิยมเป็นเสมียน คือ นิยมเข้ารับราชการ ไม่สนใจกลับไปทำการเกษตรในภูมิลำเนาของตน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ให้ประเทศได้มาก ทั้งนิยมใช้ชีวิตอยู่ในเมือง
     บุคคลเหล่านี้เห็นว่า กิจการอย่างอื่นไม่สมเกียรติยศ คนที่ได้รับการศึกษาไม่ควรเสียเวลาไปทำงานให้ที่คนไม่รู้หนังสือก็ทำได้ และเพราะไม่อยากลืมวิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา คนจำพวกนี้ยอมทนใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพ ฯ ทั้งที่เงินเดือนไม่มาก แต่ก็จับจ่ายทรัพย์เพื่อการต่างๆได้ เช่น นุ่งผ้าม่วงสี ดูหนัง กินข้าวตามกุ๊กช้อป บุคคลเหล่านี้ไม่เข้าใจว่าการทำงานอื่นๆนั้นก็มีเกียรติเท่ากับผู้ที่ทำงาน ด้วยปากกาเหมือนกัน
การที่เป็นเช่นนี้ถือเป็นความผิดของเราทั้งหลายด้วย ถ้ายังเห็นว่าการเป็นเสมียนสูงกว่าชาวนาชาวสวนก็จะทะเยอทะยานอยากเป็น ทางกระทรวงทบวงการคัดเลือกเสมียนที่มีมากเกินความจำเป็นออก บุคคลเหล่านี้ก็ไม่อาจเป็นชาวนาได้ ดังนั้นจึงต้องอยู่แต่ในเมือง อายุมากขึ้น โอกาสก็น้อยลง ดังคำกล่าวว่า การทำงานอื่นๆก็สามารถทำประโยชน์ได้ดีกว่าการเป็นเสมียน จึงเห็นว่าการทำงานอื่นก็มีเกียรติยศเหมือนเสมียนเช่นกัน

อ้างอิง  http://blog.pakorn.net/2009/11/blog-post.html

วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน่วยการเรียนรู้ที่4คัมภีร์ฉันศาสตร์ แพทศาสตร์สงเคราะห์

ที่มา

       เป็นตำราแพทย์ของไทยโบราณ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้รวบรวมไว้  แต่มีฉบับสมบูรณ์เมื่อพระยาวิษณุประสาทเวช   เป็นผู้ริเริ่มจัดพิมพ์ขึ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการแทรกซ้อนต่างๆ ของโรค และยังสั่งสอนเกี่ยวกับจรรยาบรรณแพทย์ว่า แพทย์ ที่ดีควรทำอย่างไร   
      ในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  ๗๒  พรรษาในปี พ.ศ.๒๕๔๒  รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นราชสักการะ  ในการนี้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารจดหมายเหตุ  ได้พิจารณาเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ  ได้แก่  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จัดพิมพ์หนังสือขึ้นเป็นที่ระลึกในนามรัฐบาล  แพทยศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์  และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ  เป็นหนึ่งในหนังสือเหล่านั้น  กรมวิชาการได้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  มีศาสตรจารย์ (พิเศษ) ชลธิรา  สึตยาวัฒนา  เป็นประธานคณะทำงาน  แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์  แพทยศาสตร์สงเคราะห์ภูมิปัญญาทางการแพทย์  และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ ฉบับเฉลิมพระเกียรตินี้  คณะทำงานได้นำต้นฉบับแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ของพระยาพิศณุประสาทเวช  เล่มที่  ๑  พิมพ์ครั้งที่  ๒  ร.ศ. ๑๒๘  และเล่ม  ๒  พิมพ์ครั้งที่  ๑  ร.ศ.  ๑๒๖  มาพิมพ์ขึ้นใหม่  โดยจัดทำส่วนอธิบายต่างๆ  เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจง่าย  และเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย  ในการเผยแะร่องค์ความรู้ในแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  จึงใช้เทคโนลโลยีสมัยใหม่ในรูปซีดีรอม  (มัลติมีเดีย)  ประกอบคู่กับหนังสือด้วย     

 หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง  รวบรวมพิพม์โดยพระยาวิศณุประสาทเวชได้รับพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพนายกสภาหอสมุดวชิรญาณในขณะนั้น  ในการนำมาเป็นแบบฉบับนี้  กอปรด้วยองค์ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาตะวันออก  ผสมภูมิปัญญาไทยด้านเวชกรรมและเภสัชกรรม  อีกทั้งเป็นหนังสือที่แฝงไปด้วยปรัชญาอันมีคุณค่า  อุดมด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้ง  จักวาลวิทยา  โลกทัศน์และวิถีชีวิตของคนโบราณ  รวมไปถึงระบบความเชื่อ  พิธีกรรม  คาถา  และวิธีเยียวยาแบบแผนโบราณ  เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไปให้แตกฉานทังในเชิงสหวิทาการ  และที่เป็นวิชาชีพโดยตรง

เรื่องย่อ
      แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : มรดกทางวรรณกรรมของชาติ
คำว่า “แพทย์” มาจากศัพท์สันสกฤต “ไวทฺย” แปลว่า ผู้รู้พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่าง ๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทฉบับหนึ่งคือ อถรรพเวท เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรค เป็นที่นับถือยกย่องและ มีบทบาทมากในสังคม ต่อมา คำว่า “ไวทฺย” จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค
      แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นตำราแพทย์ของไทย เป็นการแพทย์แผนโบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สืบค้นและรวบรวมไว้ ต่อมาได้โปรดให้จัดพิมพ์ “ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ใช้ในโรงเรียนราชแพทยาลัย แต่พิมพ์ได้เพียง 3 เล่ม ก็เลิกไป ในภายหลังมีการจัดพิมพ์เป็นวารสารรายเดือนฉบับหลวง 2 เล่มจบ เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับประชาชนใช้และใช้เป็นตำราแพทย์
       ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ทั้งชุดมี 14 คัมภีร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงให้ประชุมแพทย์หลวง สืบค้นและรวบรวมตำราแพทย์ไทย นำมาตรวจสอบชำระให้ถูกต้องแล้วจึง จดบันทึกลงในสมุดไทย และได้จัดพิมพ์สำเร็จสมบูรณ์โดยพระยาพิศณุประสาทเวช* (คง ถาวรเวช) เรียกกันว่า “หมอคง” ผู้เป็นอาจารย์เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยของราชแพทยาลัยและผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร เป็นผู้ริเริ่มจัดพิมพ์ “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง” จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2450 (*พระยาพิศณุประสาทเวช ได้เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามสกุล “ถาวรเวช” ท่านถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2457)
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง ซึ่งจัดพิมพ์เป็น 2 เล่มนั้น แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า “คัมภีร์” นั้น ทั้งหมดมี 14 คัมภีร์ ดังนี้
   1. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นบทสังเคราะห์เนื้อหาสาระจากคัมภีร์อื่น ๆ มารวมไว้
   2. คัมภีร์ปฐมจินดาร์ ว่าด้วย ครรภรักษา การคลอด โรคเด็ก วิธีรักษา และยาต่าง ๆ
   3. คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ (ธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และสมุนไพร ที่ใช้รักษา)
   4. คัมภีร์สรรพคุณ ว่าด้วยสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ
   5. คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ว่าด้วยความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการรักษาสุขภาพ
   6. คัมภีร์วรโยคสาร ว่าด้วยคุณลักษณะของแพทย์ ลักษณะของผู้ป่วย การรักษาโรค คุณค่าของยาและอาหาร
   7. คัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา
   8. คัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคลมและโรคเลือด และสมุนไพรที่ใช้รักษา
   9. คัมภีร์โรคนิทาน ว่าด้วยสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา
 10. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ว่าด้วยลักษณะธาตุพิการ และสมุนไพรที่ใช้รักษา
 11. คัมภีร์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยเรื่องอุจจาระที่เป็นสาเหตุของโรค และสมุนไพรที่ใช้รักษา
 12. คัมภีร์มุจฉาปักขันธิกา ว่าด้วยโรคของบุรุษและโรคของสตรี และสมุนไพรที่ใช้รักษา
 13. คัมภีร์ตักกะศิลา ว่าด้วยอาการโรคระบาดชนิดต่าง ๆ
 14. คัมภีร์ไกษย ว่าด้วยโรคกษัยชนิดต่าง ๆ และสมุนไพรที่ใช้รักษา
      ในปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำ “คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” มากำหนดให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับตำราแพทย์แผนไทย โดยนำเสนอไว้ในหนังสือเรียน “วรรณคดีวิจักษ์” ซึ่งเป็นวรรณคดีสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 การนำเสนอเนื้อหาของหนังสือเรียนเล่มนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาวรรณคดีตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อให้เข้าใจถึงคุณค่าของวรรณคดีด้านต่าง ๆ เช่น คุณค่า ด้านอารมณ์ คุณค่าด้านคุณธรรม คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และคุณค่าที่สร้างสรรค์จากจินตนาการของกวี นอกจากนี้ยังส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิด และวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ ซาบซึ้งในวรรณคดี วัฒนธรรม ทางภาษา และความเป็นไทย โดยนำเสนออย่างน่าสนใจและชวนติดตาม
     คัมภีร์ฉันทศาสตร์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้นักเรียนช่วงชั้นที่ 4 นั้น แต่งเป็น กาพย์ยานี 11 เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู มีไหว้พระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทั้งปวงแล้วก็ไหว้ เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโกมารภัจ (ซึ่งเป็นแพทย์หลวงของพระเจ้า พิมพิสารแห่งแคว้นมคธ และเป็นแพทย์ผู้ถวายการรักษาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ได้รับ การยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนอินเดีย) และไหว้ครูแพทย์ทั่วไป
     เมื่อจบบทไหว้ครูแล้ว ก็กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติสำคัญที่แพทย์พึงมี ซึ่งเน้นว่านอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว แพทย์ยังต้องมีความรู้ทางธรรมด้วย ต้องมีจรรยาแพทย์ มีจรรยาบรรณในอาชีพของตน เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม และมอบความรัก ความเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ และไม่หวังสิ่งตอบแทน
     เนื้อเรื่องย่อในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ตอนที่เป็นบทเรียนนั้นกล่าวถึง แพทย์ควรมีความรู้ ความชำนาญในวิชาการและระวังไม่ให้เข้าลักษณะของแพทย์ที่ไม่ดี คือกล่าวคำมุสา ยกตนเองว่า ดีกว่าผู้อื่น มารยา เขาเจ็บน้อยก็ว่าเจ็บมาก รักษาโรคด้วยความโลภ ไม่ยอมรักษาคนไข้อนาถา ถือว่าตนมีความรู้ความชำนาญกว่าผู้อื่น นอกจากนี้แพทย์ยังควรมีธรรมะโดยรักษาศีลแปดและศีลห้า ยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และหลีกเลี่ยงบาปธรรม 14 ประการ คือ 1) โลภะ 2) มารยา 3) โทสะ 4) โมหะ 5) ความใคร่ (กาเมมิจฉา) 6) ความพยาบาท 7) ความคลางแคลงใจ (วิจิกิจฉา) 8) ความประหม่า (อุทธัจจัง) 9) ความง่วงเหงา 10) ความถือดี (ทิฐิมานะ) 11) ความลังเลใจ (วิตก) 12) ความคิดเบียดเบียน (วิหิงสา) 13) ความไม่กลัวบาป (อโนตัปปัง) และ 14) ความรังเกียจคนไข้อนาถา
     ต่อไปเป็นบทอุปมา “กายนคร” โดยเปรียบเทียบไว้อย่างคมคายว่า ร่างกายนี้คือ “กายนคร” คือเปรียบเสมือนเป็นเมือง ๆ หนึ่ง มีดวงจิต คือหัวใจเป็นประหนึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมือง นั้น ๆ และมีแพทย์ เสมือนเป็นทหาร ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันข้าศึก ข้าศึก ก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่มาโจมตีร่างกายของเรา นอกจากทหารแล้วเรามีวังหน้า คือน้ำดีคอยป้องกันข้าศึกมิให้เข้ามา ตีบ้านเมืองได้ มีอาหารเป็นเสมือนหนึ่งกองเสบียงเลี้ยงไพร่พล แพทย์จึงมีหน้าที่รักษาหัวใจ น้ำดี และอาหารไว้มิให้โรคร้ายต่าง ๆ มาจู่โจมร่างกายได้
    แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ จัดเป็นตำราและเป็นมรดกทางวรรณกรรม เพราะมีเนื้อหาเฉพาะด้านเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นตำราแพทย์แผนโบราณที่สมบูรณ์ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนับเป็นมรดกได้ มีวิธีการนำเสนอด้วยคำอธิบายเป็นส่วนใหญ่ (แต่ก็มีหลายตอนที่ประกอบด้วยวรรณศิลป์ เช่น บทอุปมา “กายนคร”) ใช้คำประพันธ์หลายชนิดในการแต่ง อาทิ ร่าย กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นตำราที่ให้ทั้งความรู้และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน แพทย์ศาสตร์-สงเคราะห์จึงเป็นมรดกที่มีค่า เรียกว่า เป็นสมบัติของแผ่นดิน เป็นภูมิปัญญาไทยที่ตกทอดมาเป็นตำราที่รักษาไข้ รวมทั้งเป็นตำรายาสมุนไพรซึ่งเป็นภูมิรู้ที่ทรงคุณค่าของคนไทย
     คัมภีร์ฉันทศาสตร์ อาจจะอ่านเข้าใจยาก เพราะเป็นภาษาโบราณ มีศัพท์ยากอยู่มาก สำนวนการเรียงคำก็เป็นคำประพันธ์ และยังมีคำศัพท์ธรรมปนอยู่ด้วย แต่ถ้าอ่านและค่อย ๆ พิจารณาก็จะเข้าใจได้ เนื้อหาค่อนข้างเป็นการสั่งสอน ผู้อ่านจะซาบซึ้งคุณสมบัติของแพทย์ไทยว่าเป็นบุคคล ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม ศีลธรรม และความรู้ เป็นคนมีค่าสูงยิ่ง และเป็นบุคคลตัวอย่างของสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันนี้จะหาคนที่ทรงคุณค่าเช่นนี้ได้ยากนัก
     สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2551 : 10) ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า คำ “ฉันทศาสตร์” ในบริบทของหนังสือ “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” นี้ น่าจะแปลว่า “ศาสตร์แห่งความรัก” โดยที่ “ความรัก” ในที่นี้มิได้หมายความถึง “ความรักใคร่ฉันชู้สาว อันหญิงชายจะพึงมีต่อกัน” แต่หมายความถึง “ความรักใน เพื่อนมนุษย์ ซึ่งแพทย์จะพึงมีต่อคนไข้โดยทั่วไป” โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
     เฉพาะในส่วนที่จัดว่าเป็น “บทสอนแพทย์” ผู้แต่งได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของแพทย์โดยทั่วไปที่มักจะมีความประมาท ความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตนเอง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่บรรดาแพทย์เล็งเห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมมีส่วน ช่วยรักษาคนไข้ให้หายไข้ได้เร็วขึ้น ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และที่สำคัญก็คือคนจนก็ได้รับความสนใจไยดีจากแพทย์ ในส่วนแพทย์ด้วยกันเองนั้นเล่า ผู้แต่งก็เตือนสติมิให้ “แพทย์สูงอายุ” ผู้มีอาวุโสกว่า หลงตนเองจนลืมไปว่า “แพทย์หนุ่ม” ที่มีความสามารถก็มีอยู่ ควรรับฟังแพทย์หนุ่ม ๆ บ้าง
ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์นี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่างหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือคุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณในลักษณะสังเขป เป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้ความเข้าใจพื้นฐาน ด้านการวิเคราะห์วินิจฉัยโรคว่าอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้น คนโบราณเห็นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และควรจะรักษาอย่างไร ควรใช้สมุนไพรชนิดใดบ้าง สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องโบราณ ก็มีข้อมูลและเนื้อหาตลอดจนวิธีคิดของคนโบราณ ที่อาจจะฟังดูแปลก ๆ แต่ก็น่าสนใจไม่น้อย
ตอนลงท้ายของคัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นไปตามแนววรรณคดีแบบฉบับทั้งหลาย คือมีการอธิษฐานขอให้ได้บรรลุนิพพาน และระหว่างที่ยังไม่บรรลุ ผู้แต่งก็ได้อธิษฐานอุดมคติอันสูงส่ง ของท่านไว้อย่างน่าชื่นชม กล่าวคือ ท่านขอว่า
...ขอข้ากำลังยิ่งอายุยืนปัญญาไว
ให้มีเมตตาไปแก่สัตว์ทั่วทุกสรรพ์พรรค์
เกิดไหนให้เป็นแพทย์อย่ารู้มีผู้เทียมทัน
โรคสิ้นทุกสิ่งสรรพ์ให้รอบรู้กำเนิดนา...
(พระยาพิศณุประสาทเวช, ร.ศ. 128 : 76 - 77)
อ้างถึงใน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สถาบันภาษาไทย, หน้า 14
เนื้อหาที่น่าสนใจและคุณค่าบางประการที่ได้ยกมากล่าวเพียงคร่าว ๆ นี้ คงพอจะทำให้เห็นว่า แท้ที่จริง วรรณคดีเพื่อประโยชน์แก่ปวงชนที่จัดเป็นมรดกทางวรรณกรรมของชาตินั้น ไทยเรามีมา แต่โบราณ และยังคงสามารถสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ โดยองค์รวมจึงเป็นมรดกทางวรรณกรรมของชาติ ที่แสดงถึงองค์ความรู้แห่งภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์และสมุนไพร อันมีคุณค่าอเนกอนันต์ อีกทั้งยังเป็นหลักแสดงความก้าวหน้า บ่งชี้ชัดและประกาศความลึกซึ้งของภูมิปัญญาไทยด้านการแพทย์และสมุนไพร อันมีคุณค่าอเนกอนันต์ อีกทั้งยังเป็นหลักแสดงความก้าวหน้า บ่งชี้ชัดและประกาศ ความลึกซึ้งของภูมิปัญญาไทยที่ได้มีการสั่งสมและผสมผสานอย่างกลมกลืมกับภูมิปัญญาตะวันออกมายาวนาน ทั้งในด้านการแพทย์และสมุนไพร โบราณวิทยา อักษรศาสตร์ รวมไปถึงด้านจริยธรรมและคุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพรักษาเยียวยาคน
มรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทยเราส่วนนี้ สมควรที่จะได้มีการอนุรักษ์และพัฒนา อย่างจริงจัง เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

..................................................................................................................................................

ถอดคำประพันธ์ 
ถอดความค าประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
๑.จะพดูถึงตา ราฉนั ทศาสตร์ของเก่าที่ครูสอนไวเ้ปรียบไดก้ บัดวงอาทิตยแ์ละดวงจนั ทร์ที่ทา ให้
มองเห็นได้ชัดเจน
๒.นา ทางสัตวใ์หเ้ห็นทางเดินอยา่ งชดัเจน (การด าเนินชีวิตที่ดี)หมอนวดและหมอยา ผู้เรียนรู้เวท
มนตร์คาถาของศ.พราหมณ์
๓.เรียนรู้ใหค้รบท้งัหมดจนจบข้อความในต าราฉันทศาสตร์ที่ครูบอกให้เข้าใจสิบสี่หัวข้อควรจ าไว้
๔.เป็นแพทยน์ ้ียากมากที่จะรู้จกัเรื่องผลการกระทา ที่ไม่ดีตดัทิ้งไปเรื่องความไม่ดีท าความดีสิบสี่ข้อ
จึงจะเป็ นคนซื่อสัตย์
๕.เป็นแพทยแ์ ต่ไม่รู้ในตา ราเวทย์มนตร์คาถาที่ครูต้งัใจเรียนไวรู้้แต่ยามาประดบั ตวั รักษาไขไ้ม่เกรง
กลัว
๖.หมอบางคนก็พดู โกหกซ้า ๆ ย้า ขอ้ความยกยอ่ งตนเองวา่ มีความรู้ดียงิ่ ในเรื่องยา
๗.หมอบางคนก็รังเกียจคนไขท้ี่แพทยอ์ื่นเคยรักษามาบา้งก็กล่าวหลอกลวง เขาเจบ็ ป่วยเล็กนอ้ยก็วา่
เป็ นมาก
๘.บ้างพดูอยา่ งเล่ห์กลกบัคนไขว้า่ ตอ้งใชเ้งินหลายพนัคาดวา่ จะไดข้องทนั ทีเพราะเชื่อค าพูดของ
ตนเอง
๙.บางคร้ังไปเยยี่ มคนไข้ท้งัที่ไม่มีใครเชิญใหไ้ปพดู ยกตวัอยา่ งถึงประโยชน์ของยาที่ตนรู้ใหค้ นฟัง
เชื่อ
๑๐.หมอบางคนหมกมุ่นในกลอุบายใหค้ นเขา้ใจผดิ เพราะความโลภเข้าปิ ดบังรักษาโรคเพราะ
อ านาจความอยากได้ความต้องการ
๑๑.หมอบางพวกหยงิ่ ในฐานะตนวา่ คนไขย้ากจนให้ยาไปจะเสียยา ไม่ไดร้ับของที่ควรจะไดร้ับ
๑๒.หมอบางคนยดึมนั่ วา่ ตวัเองอายมุ ากเป็ นหมอมานานมีความเชี่ยวชาญรู้เรื่องยาไม่รู้
ความสามารถของผู้อื่น รักษาโรคไดก้็มีความสุข
๑๓.ร่างกายแก่ไม่เรียนรู้ใหม้ ากดูหมิ่นผมู้ีความรู้มากแมเ้ด็กแต่เป็นเด็กมีความชา นาญ ใจไม่ควรคิด
ดูหมิ่น
๑๔.เรียนรู้ให้ช านาญ จบขอบเขตเน้ือหาตา ราเวทมนตร์คาถาเริ่มต้งัตน้ ในฉนั ทศาสตร์ตามที่บอกให้
ทราบไว้
๑๕.ต าราปฐมจินดาร์โชตรัต ต าราครรภ์รักษา ต าราอภัยสันตาต าราสิทธิสารนนท์ปักษี........

อ้างอิง
https://sites.google.com/a/htp.ac.th/khamphir-chanth-sastr-phaethysastr-sngkheraah/1-khwam-pen-ma,https://my.dek-d.com/naruemol_2540/writer/viewlongc.php?id=1287637&chapter=3

หน่วยการเรียนรู้ที่3บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

ที่มาของเรื่อง

      บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา 

เป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ตามจินตนาการของพระองค์
 โดยทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง 
และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทั้ง ชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียด ต่าง ๆเช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่อง
มัทนะพาธา มีความหมาย ว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง ที่ชีใ้ ห้เห็นโทษของความรัก
ระยะเวลาในการแต่ง
      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำละครพูดมาสู่วงการวรรณกรรมไทยเป็นครั้ง แรก ทั้ง นี้เนื่องจากทรงสนพระทัยในบทละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้เป็นจำนวนมาก แต่เรื่องมัทนะพาธาหรือตำนานดอกกุหลาบนี ้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทละครพูดคำฉันท์เพียงเรื่องเดียวโดยทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน  ๒๔๖๖ ขณะทรงพระประชวร และประทับอยู่ ณ พระราชวังพญาไท และทรงพระราชนิพนธ์เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๖๖ นับได้ว่าใช้เวลาเพียง ๑ เดือน ๑๗ วันเท่านัน้
ลักษณะการแต่ง
     เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและ
ความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ 

เรื่องย่อ
ภาคสวรรค์ :     
    กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร  ซึ่งในอดีตกาลเป็นกษัตริย์ครองแคว้นปัญจาล มัทนาเป็นพระธิดากษัตริย์ของแคว้นสุราษฎร์  สุเทษณ์ได้ส่งทูตไปสู่ขอนาง  แต่ท้าวสุราษฎร์พระบิดาของนางไม่ยอมยกให้  สุเทษณ์จึงยกทัพไปรบทำลายบ้านเมืองของท้าวสุราษฎร์จนย่อยยับ  และจับท้าวสุราษฎร์มาเป็นเชลยและจะประหารชีวิต  แต่มัทนาขอไถ่ชีวิตพระบิดาไว้  โดยยินยอมเป็นบาทบริจาริกาของสุเทษณ์ ท้าวสุราษฎร์จึงรอดจากพระอาญา  จากนั้นมัทนาก็ปลงพระชนม์ตนเอง  และไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์นามว่า  มัทนา  ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ทำพลีกรรมจนสำเร็จ  เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกิดบนสวรรค์เช่นกัน  ด้วยผลกรรมที่เคยได้นางมาเป็นคู่ทำให้มีโอกาสได้พบกันอีกบนสวรรค์  แต่นางมัทนาก็ยังไม่มีใจรักสุเทษณ์เทพบุตรเช่นเดิม
   
ณ  วิมานของสุเทษณ์ ได้มีคนธรรพ์เทพบุตร  เทพธิดาที่เป็นบริวารต่างมาบำเรอขับกล่อมถวาย  แต่ถึงกระนั้นสุเทษณ์เทพบุตรก็ไม่มีความสุข  เพราะรักนางมัทนา  แต่ไม่อาจสมหวังเพราะผลกรรมที่ทำไว้ในอดีต  จึงให้วิทยาธรชื่อมายาวินใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดให้นางมายังวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร   ฝ่ายมัทนาเมื่อถูกเวทย์มนตร์สะกดมา  สุเทษณ์จะตรัสถามอย่างไรนางก็ทวนคำถามอย่างนั้นทุกครั้งไป  จนสุเทษณ์เทพพระบุตรขัดพระทัย  รู้สึกเหมือนตรัสกับหุ่นยนต์   จึงให้มายาวินคลายมนตร์สะกด  เมื่อนางรู้สึกตัวก็ตกใจกลัวที่ล่วงล้ำเข้าไปถึงวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร  สุเทษณ์เทพบุตรถือโอกาสฝากรัก มัทนาแสดงความจริงใจว่านางไม่ได้รักสุเทษณ์เทพบุตรจึงไม่อาจรับรักได้ เมื่อได้ยินดังนั้นสุเทษณ์เทพบุตรรู้สึกกริ้วนางมัทนาเป็นที่สุด  จึงสาปให้มัทนาจุติจากสวรรค์ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบในป่าหิมาวันในโลกมนุษย์  และเปิดโอกาสให้นางกลายร่างเป็นมนุษย์ได้เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเพียงหนึ่งวันกับหนึ่งคืนเท่านั้นเมื่อใดที่นางมีรักเมื่อนั้นจึงจะพ้นคำสาปและกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อย่างปกติ  หากเมื่อใดที่นางมีทุกข์เพราะความรักก็ให้นางอ้อนวอนต่อพระองค์จึงจะยกโทษทัณฑ์ให้  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสาเหตุของปมขัดแย้งในเรื่อง  คือ  สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่นางไม่รักตอบ

ภาคพื้นดิน :

    พระฤๅษีได้ขุดเอาดอกกุหลาบจากป่าหิมาวันไปปลูกไว้กับอาศรม เมื่อคืนวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง นางจะปรากฏโฉมเป็นมนุษย์มาปรนนิบัติรับใช้พระฤๅษี    วันหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งนครหัสดิน  เสด็จประพาสป่ามาถึงอาศรมพระฤๅษี  ตรงกับคืนวันเพ็ญที่มัทนากลายร่างเป็นมนุษย์  และได้พบกับท้าวชัยเสนและเกิดความรักต่อกัน  พระฤๅษีจึงจัดพิธีอภิเษกให้   ชัยเสนได้พานางกลับนครหัสดิน  ท้าวชัยเสนหลงใหลรักใคร่นางมัทนามาก  ทำให้นางจัณฑีมเหสี  หึงหวง  และอิจฉาริษยา  จึงทำอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจผิดว่ามัทนาเป็นชู้กับนายทหารเอก  นางมัทนาจึงถูกสั่งประหารชีวิต  แต่เพชฌฆาตสงสารจึงปล่อยนางไป
    นางมัทนากลับไปยังอาศรมพระฤๅษีและวิงวอนให้สุเทษณ์เทพบุตรช่วย  สุเทษณ์เทพบุตรได้ขอความรักนางอีกครั้งหนึ่งแต่นางปฏิเสธ  สุเทษณ์เทพบุตรจึงสาปให้นางเป็นดอกกุหลาบตลอดไป


ที่มา
https://alilit.wordpress.com/category/06-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD/,https://sites.google.com/a/htp.ac.th/mathna-phatha/4-reuxng-yx,http://youtube.com/watch?v=g2-NxcQ0VBQ

หน่วยการเรียนรู้ที่2ลิลิตตะเลงพ่าย

ที่มาของลิลิตตะเลงพ่าย


      -ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีประวัติศาสตร์เรื่องเยี่ยมของไทย

      -ให้คุณค่าในทุกๆ ด้าน

      -สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระนเรศวรมหาราช

      -เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนสมเด็จพระนเรศวรกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาไปรับทัพข้าศึกคือ ฝ่ายพระมหาอุปราชา   และ ทั้งสองฝ่ายได้เผชิญหน้ากัน

      -สมเด็จพระนเรศวรได้ชวนเชิญพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถี

      -พระมหาอุปราชาถูกพระแสงของ้าว ได้โปรดฯ ให้สร้างสถูปเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ ต.ตระพังตรุ

 ผู้แต่ง    สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส

       ชนิดคำประพันธ์    ลิลิตสุภาพ

เรื่องย่อ
        เริ่มประพันธ์ด้วยการกล่าวชมบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วจึงเข้าสู่เนื้อความที่ถอดความได้ดังนี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้ที่ได้สืบครองราชย์ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพมาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนายว่าพระมหาอุปราชานั้นจะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย ในระหว่างช่วงนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปท่ำศึกกับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่เมื่อทรงทราบว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไปประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้นได้นำทัพจำนวน 5 แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพินแล้วจึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตรพระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่ายที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเคลื่อนทัพทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้ทรงทราบว่าทหารพม่ามาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที แล้วทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออกมาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึกทำให้แม่ทัพต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระนเศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร หลังจากที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้างสถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องนี้กวีได้จบเรื่องด้วยการประพันธ์โคลงสดุดีและได้ประพันธ์ถึงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและปิดเรื่องด้วยชื่อผู้ประพันธ์และจุดประสงค์ในการประพันธ์




ที่มา  https://ngaemngamlatyao.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2/,https://alilit.wordpress.com/category/06-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD/

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่ายยาวมหาเวสสันดรขาดกกัณฑ์มัทรี

ที่มาของเรื่อง

        เรื่องมหาเวสสันดรชาดกมีที่มาจากเหตุการณ์ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์  บรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระพุทธเจ้า  ด้วยทรงคิดว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุน้อยกว่า  พระพุทธองค์ทรงทราบความคิดของเหล่าพระประยูรญาติ  จังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  โดยเสด็จขึ้นสู่นภากาศ  แล้วปล่อยให้ฝุ่ละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระญาติทั้งหลาย  พระประยูรญาติจึงได้ละทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสว่า  ฝนชนิดนี้เคนตกต้องพระประยูรญาติของพระองค์มาครั้งหนึ่งแล้วในอดีต  แล้วทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดกหรือเรื่องมหาชาติแก่พระภิกษุเหล่านั้น

          ร่ายยาวมหาเสสันดรชาดก  เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก  หรือที่เรียกว่า พระเจ้าสิบชาติชาดก  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท  ดังนี้

           1.  นิบาตชาดก  เป็นชาดกที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฏกมีจำนวน  ๕๕๐ เรื่อง  ที่เรียกว่านิบาตชาดก เพราะจัดไว้เป็นหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา  แบ่งเป็น ๒๒ นิบาต  มีตั้งแต่คาถาเดียว  จนถึง ๘๐ คาถา  เรียกชื่อตามจำนวนคาถา  เช่น ชาดกที่มีคาถาเดียว เรียกว่า เอกนิบาตชาดก  ชาดกที่มี ๒ คาถา เรียกว่า  ทุกนิบาตชาดก  ชาดกที่มีคาถามากเกิน ๘๐ คาถาขึ้นไป มีจำนวน ๑๐ ชาดก  เรียกว่า พระเจ้า ๑๐ ชาติ   ทศชาติชาดก  หรือ มหานิบาตชาดก


          2. ปัญญาสชาดก   คือ นิทานสุภาษิตหรือนิทานอิงธรรมที่ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งไว้เป็นภาษาบาลีประมาณปี  พ.ศ. ๒๐๐๐ – ๒๒๐๐  เป็นนิทานเก่าแก่ที่เล่าต่อกันมา  ถือเป็นชาดกนอกคัมภีร์พระพุทธศาสนา  มีจำนวน ๕๐ เรื่อง


เรื่องย่อ

           พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล  หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร  ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก  ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง  ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง  ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า  หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน  ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก  พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร  3  องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย  3  ตัว  คือราชสีห์  เสือโคร่ง  และเสือเหลือง  ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม   เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย  เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ  พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก  จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก  เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้  ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป  ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น  พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า  พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี  พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรด้วย

ที่มา https://jirawanjane.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/,https://sites.google.com/site/kanipa031/neux-reuxng-yx